Category
DSP Big Cleaning Day
เมื่อวันอังคารที่ 28 มกราคา 2563 นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นประธานเปิดกิจกรรม 5ส ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งร่วมด้วยช่วยกันดำเนินการ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย ทั้งภายในกลุ่มงานตนเองและพื้นที่ส่วนกลางอย่างขยันขันแข็ง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในหน่วยงานและเพื่อความราบรื่นในการดำเนินงานตลอดทั้งปี
29 ม.ค. 2020
สสช. เข้าหารือ กสอ. สู่แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลสถานประกอบการของประเทศ
เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 นางอรพิน อุดมธนะธีระ รักษาการนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลสถานประกอบการของประเทศ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคาร กสอ. ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เพื่อหารือ ในรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาฐานข้อมูลสถานประกอบการจากสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรมให้เป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อจัดทำรูปแบบฐานข้อมูลให้เป็นมาตรฐานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้และหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวาง โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าหารือร่วมด้วย
17 ม.ค. 2020
กสอ. หารือร่วม ธพว. บูรณาการส่งเสริม SMEs สู่ความยั่งยืน
วันอังคารที่ 26 พฤศจิการยน 2562 นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย” (ธพว.) ซึ่งจัดโดยกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ณ ห้องประชุมโซนบี ชั้น 6 อาคาร กสอ.
26 พ.ย. 2019
Happy Shopping Happy Sharing #2
เมื่อวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้นำสิ่งของอุปโภคบริโภค ยารักษาโรคและเงินที่ได้จากกิจกรรม Happy Shopping Happy Sharing ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา จากการนำเสื้อผ้าสิ่งของที่ไม่ใช้งานแล้วมาขายในราคาย่อมเยา ซึ่งยอดที่ได้รวมทั้งสิ้น 26,861 บาท มามอบให้กับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อเป็นการฝึกตนให้เป็นผู้ให้และตอบแทนสังคมส่วนรวม โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดเป็นปีที่ 2 และจะจัดต่อเนื่องในปีถัดไป หากท่านใดสนใจร่วมทำบุญกับเราชาว กง. สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเว็บไซต์ dsp.dip.go.th
12 พ.ย. 2019
ขอเชิญสัมมนา "ไทยแลนด์พลัสวัน"
ขอเรียนเชิญท่านผู้ประกอบการและ หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมงานสัมมนา “ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น” ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมนิกโก้ กรุงเทพฯ ท่านจะได้รับความรู้จากการบรรยายพิเศษ โดย ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นในหัวข้อ - “บริษัทไทยและญี่ปุ่นควรร่วมมือกันอย่างไรในการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง” - “ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน” พิเศษสุด ๆ ภายในงานท่านจะมีโอกาสในการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับเหล่าผู้ประกอบการ และนักลงทุนทั้งไทยและญี่ปุ่นอีกด้วย สนใจลงทะเบียนได้ที่ :https://forms.gle/vLtv6CTVn9UTA4o5A0-2611-2641 คุณสิรินทร์0-2202-4592 คุณภัทราพร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากโปสเตอร์ด้านล่างนี้
29 ต.ค. 2019
i-Industry โมเดลการเชื่อมบริการออนไลน์
ในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โลกขับเคลื่อนด้วยคลังข้อมูลมหาศาลที่โลดแล่นเติบโตเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและหลากหลาย ทักษะที่จำเป็นจึงไม่ใช่เพียงเรื่องที่ตนเองมีความชำนาญอีกต่อไป แต่จะต้องขยายขีดจำกัดไปสู่การประยุกต์ใช้ข้อมูลที่มากมายเหล่านั้นได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ตอบสนองต่อปัญหาเหล่านี้ด้วยการผลักดันแพลตฟอร์ม i-Industry แบบครบวงจรตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ระบบ Digital และ Big Data ยกระดับการให้บริการ การกำกับดูแลโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับคนทำอุตสาหกรรมในประเทศไทย i-Industry เป็นแพลตฟอร์มที่ทำการรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และสนับสนุนนักอุตสาหกรรมในประเทศไทยด้วยการใช้งาน Big Data เพื่อประมวลผลและคาดการณ์ทิศทางอุตสาหกรรมรวมถึงประเมินศักยภาพของผู้ผลิต โดยสามารถแบ่งการใช้งานออกเป็น 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ Digital Licensing การขอเอกสารผ่านระบบดิจิทัล Digital Reporting รายงานข้อมูลส่วนบุคคล Digital Service Platform โครงข่ายการให้บริการออนไลน์ Digital Government การติดต่อภาครัฐผ่านดิจิทัล Data Collaboration การคาดการณ์ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบดิจิทัล จุดเด่นของ i-Industry 1. อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในยุค 4.0 โดยการให้บริการและปฏิบัติงานของกระทรวงอุตสาหกรรมในทุกมิติ เช่น ระบบยื่นขอรับใบอนุญาตออนไลน์ ระบบรายงานการประกอบการอุตสาหกรรมผ่านระบบออนไลน์ (Self-Declaration) เพื่อทดแทนการตรวจสถานประกอบการในการต่ออายุใบอนุญาต เช่น ใบอนุญาต ร.ง.4 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ใบอนุญาต มอก. ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Eco Sticker) ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวมถึงการชำระค่าบริการต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ (D-Payment) ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 2. การให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (online service) ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น และลดความซ้ำซ้อนจากการเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าร่วมกันผ่านระบบ i-Industry ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยจะเชื่อมข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละภาคส่วนและยึดถือข้อมูลหลักจากหน่วยงานนั้น เช่น การเชื่อมข้อมูลของผู้ประกอบการจากหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อลดการกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อน การเชื่อมข้อมูลบุคคลจากหมายเลขบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย การเชื่อมข้อมูลสถานประกอบการจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้ระบบ i-Industry เป็นการปฏิรูปการปฏิบัติงานจากเดิมที่ผู้ประกอบการต้องส่งเอกสารต่าง ๆ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งเป็นวิธีการที่ล้าสมัยให้เป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเกิดการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถกรอกข้อมูลรายงานการประกอบการอุตสาหกรรมด้วยตนเองในแบบฟอร์มดิจิทัลเดียว (Single Form) ผ่านระบบ i-Industry และใช้ข้อมูลดังกล่าวยื่นขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม แบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกทุกที่ทุกเวลา ลดขั้นตอน และค่าใช้จ่าย นางสาวศิริวดี อึ้งสกุล นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ กลุ่มศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม (โมเดล)กองยุทธศาสตร์และแผปนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
28 ต.ค. 2019
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ กับ AOTS
เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องจูปิเตอร์ 6 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม โดย อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ และ The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) โดย สมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเซียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (ประเทศไทย) โดยมี นายเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม ประธานกรรมการ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ Mr.Joji TATEISHI, Senior Managing Director นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ประธานกรรมการบริหาร อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ นายสุชัย พงษ์พากเพียร นายกสมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเซียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (ประเทศไทย) โดยมีคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี โดยการลงนามความร่วมมือมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อขยายธุรกิจสู่ตลาดอาเซียนและสากล ทั้งในด้านความร่วมมือจัดทำแผนการดำเนินโครงการ/ กิจกรรม เพื่อถ่ายทอด องค์ความรู้และทักษะ ด้านการบริหารจัดการ ด้านมาตรฐานสากล หรือด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ กิจกรรมฝึกอบรมและสัมมนา ศึกษาดูงาน จับคู่เจรจาธุรกิจ อีกทั้งการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความท้ำทายของประเทศญี่ปุ่น เพื่อมุ่งหน้าสู่ Society 5.0 เปิดโลกเทคโนโลยีดิจิทัล สู่อนาคตของประเทศไทย (Challenge of Japan toward Realizing Society 5.0 Future of Thailand through Digital Technology) จากผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น เพื่อสร้ำงความเข้าใจ เกี่ยวกับนโยบาย “สังคม 5.0” ของประเทศญี่ปุ่น และการจัดการความปลอดภัย บนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
23 ก.ค. 2019