รู้เรื่องติดตามประเมินผล ชีวิตงานรุ่งไม่พลาดชัวร์


02 มิ.ย. 2020    napakan    52

การกล่าวถึงการติดตามและประเมินผล
คนทั่วไปนิยมกล่าวการติดตามและประเมินผล กล่าวหรือเรียกร่วมกัน แท้จริงแล้ว การติดตาม และการประเมินผลมีความแตกต่างในด้านแนวคิด กระบวนการ กิจกรรมในการดำเนินงานในการติดตามและประเมินผล

ทำไม.....หน่วยงานต้องดำเนินการติดตามและประเมินผล
บางท่านสงสัย หรือมีคำถามในหน่วยงาน ทำไมต้องติดตามและประเมินผล หรือทำไมต้องติดตาม ประเมิน หรือการจัดทำรายงานโครงการ/กิจกรรม ความก้าวหน้าการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน เพื่อการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล

การติดตามและประเมินผลเป็นกระบวนการบริหารจัดการหนึ่งของหน่วยงานเพื่อจุดประสงค์การติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน หรือการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม สำหรับการประเมินผล เพื่อวัดความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการนำผลไปปรับปรุง แก้ไข และทราบถึงความสำเร็จของการดำเนินงาน

สำหรับนิยาม “การติดตาม” (Monitoring) หมายถึง การเก็บรวมข้อมูลการปฏิบัติติงานตามแผนงาน โครงการ/กิจกรรมที่กำหนด เพื่อใช้ในการตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุง วิธีการปฏิบัติติงานให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประเภทการติดตาม มีรูปแบบ 6 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 การติดตามในเชิงกระบวนการ เพื่อประเมินปัญหาอุปสรรคระหว่างการดำเนินงาน
รูปแบบที่ 2 การติดตามเชิงปริมาณ เป็นการติดตามผลผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา
รูปแบบที่ 3 การติดตามเชิงคุณภาพ เพื่อการประเมินว่าการดำเนินงานในแต่ละเรื่องมีระดับคุณภาพมากน้อยเพียงใด
รูปแบบที่ 4 การติดตามเชิงเวลา เป็นการติดตามเชิงของแผนเทียบกับผลในแต่ละช่วงเวลา
รูปแบบที่ 5 การติดตามเชิงงบประมาณ เป็นการติดตาม เฝ้าดูการใช้งบประมาณในแต่ละช่วงเวลาโดยประเมินเปรียบเทียบความเหมาะสมของจำนวนเงินและปริมาณงานที่ได้ดำเนินการ
รูปแบบที่ 6 การติดตามเชิงวิชาการ หรือในทางเทคนิคของการดำเนินการ

ส่วน “การประเมินผล” (Evaluation) หมายถึง การตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนงานโครงการ/กิจกรรม และการพิจารณาผลความสำเร็จ หรือผลสัมฤทธิ์ของแผนงานโครงการ/กิจกรรม มากน้อยเพียงใดอยู่ในระดับใด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น จะทำให้ทราบว่าการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม บรรลุวัตถุประสงค์ มากน้อยเพียงใด หากจะกล่าวถึงมิติการประเมิน (ศิริชัย กาญจนวลี (2554), มี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติของวิธีการประเมิน ประกอบด้วย
  1.1 แนวทางวิธีการประเมินที่ใช้เทคนิคของชิงระบบ (Systematic approach) เป็นวิธีการประเมินที่มีเครื่องมือในการกำหนดหลักเกณฑ์ หรือแนวทางการประเมินที่ชัดเจน กระบวนงานประเมินที่เป็นขั้นตอนหรือเป็นระบบ
  1.2 แนวทางวิธีเชิงธรรมชาติ (Nationalistic approach ) เป็นวิธีที่ไม่มีการกำหนดระเบียบวิธีในการให้มาของข้อมูลเพื่อการใช้ในการประเมินอย่างชัดเจน แต่อาศัยของผู้ประเมินเป็นหลัก
2. มิติของวัตถุประสงค์ของการประเมิน
  2.1 การประเมินที่มีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินใจเป็นการประเมินที่มุ่งเน้นข้อมูลสารสนเทศต่างเพื่อการตัดสินใจผู้บริหาร
  2.2 การประเมินที่มีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินใจคุณค่าเป็นการนำกระบวนการที่เหมาะสมมาใช้เพื่อตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ประเมินนั้น ๆ การตัดสินใจคุณค่าจะต้องวางบนพื้นฐานของความเป็นกลางอย่างไม่มีผู้ส่วนได้เสีย จะต้องดำเนินการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งผลเชิงบวกและผลเชิงลบเท่าเทียมกัน

อย่างไรก็ตาม การติดตามเป็นกระบวนการที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนการประเมินผลจะมีการประเมินผลเป็นช่วง ๆ ต้นแต่เริ่มต้น ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน โดยหลักการแล้วควรต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการติดตาม ดังนั้นส่วนใหญ่จึงเรียกรวมเป็น การติดตามและประเมินผล

 


  

ที่มา : ศิริชัย กาจนวาสี (2554) ทฤษฎีการประเมิน, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลด