Category
ผู้ประกอบการดีเด่นหัวใจแกร่ง Strong Heart Outstanding Entrepreneur
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดำเนินการศึกษาติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการเข้ารับบริการของผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ และตอบสนองต่อกระบวนการประเมินโครงการที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธภาพต่อไป ซึ่งใช้กระบวนการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI : Social Return on Investment) มาประเมินโครงการ/กิจกรรม มีจำนวนทั้งหมด 7 กิจกรรม โดยผู้ประกอบการดีเด่นหัวใจแกร่ง (Strong Heart Outstanding Entrepreneur) ต่อไปนี้ สามารถต่อยอดความรู้และพัฒนาธุรกิจให้มีรายได้ลงสู่ชุมชนจนเกิดความเข้มแข็งพร้อมรับมือการแข่งขันของตลาดระดับสากลต่อไป
19 พ.ค. 2020
“ศาสตร์พระราชา” กับการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร
นวัตกรรม (1) คือ “สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม” เราทราบกันดีว่าการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ในองค์กรนั้นสามารถสร้างความก้าวหน้าให้แก่องค์กรได้ แต่คำถามคือ ทำอย่างไรองค์กรของเราจึงจะมีนวัตกรรม ซึ่งแลดูจะเป็นเรื่องยาก และยังพบว่าโครงการนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น เราทุกคนคงเคยได้ยินศาสตร์พระราชาที่กล่าวว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” (2) ซึ่งเป็นหลักการทรงงานของล้นเกล้าในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักพัฒนา โดยพระองค์ทรงใช้หลักดังกล่าวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ดำเนินจากกระบวนการคิดบนรากฐานของการเข้าใจมนุษย์ การเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองความต้องการที่แท้จริง เป็นการพัฒนาด้วยความรู้และภูมิปัญญาที่ไม่จำกัดอยู่แค่มิติใดมิติหนึ่ง พร้องทั้งต้องมีการทดลองและปรับปรุงจนได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน และสามารถประยุกต์ใช้ได้ ดังโครงการพระราชดำริหลาย ๆ โครงการ อาจารย์พันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์ เมื่อครั้งคำรงตำแหน่งผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้อธิบายศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร (Driving Innovation in Organization) ได้อย่างน่าสนใจและเข้าใจง่าย ช่วยให้เราเข้าใจว่านวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกองค์กร ทั้งภาคเอกชน และราชการ โดยผู้เขียนขอเรียบเรียงสรุปดังนี้ “เข้าใจ” โจทย์ปัญหา เราต้องเข้าใจบริบทของปัญหา ความเจ็บปวด (Pain Point) หรือความต้องการในด้านต่าง ๆ ของ ลูกค้า หรือผู้รับบริการ โดยการศึกษาและวิเคราะห์ ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ผ่านวิธีการ กิจกรรม หรือเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อที่จะทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาที่แท้จริง และตรงใจกลุ่มเป้าหมายที่สุด “เข้าถึง” ทางออกของปัญหา หลังจากเข้าใจโจทย์ทั้งหมดแล้ว จะต้องมีการตั้งทีมงานเพื่อวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปสู่ทางออก โดยบูรณาการความรู้ในทุกมิติ ซึ่งจะต้องสร้างกระบวนการคิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกของปัญหา และสร้างต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบและทดลองใช้จริง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาหลายครั้งจนกว่าผู้ทดลองใช้จะร้อง “ว้าว" นำไป “พัฒนา” สิ่งใหม่ เมื่อต้นแบบได้สร้างความประทับใจและความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้แล้ว จะถึงขั้นตอนนำไปพัฒนาสิ่งใหม่ คือ “นวัตกรรม” โดยนำไปขยายผลและเผยแพร่ให้เกิดการใช้จริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอยู่พื้นฐานของการคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ทำให้เราเข้าใจรากฐานสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมแล้ว โดยทุกท่านสามารถศึกษากระบวนการคิด วิธีการ เครื่องมือ หรือกลไกต่าง ๆ เพื่อที่จะบรรลุ 3 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เช่น Innovation’s method, Functional innovation system หรือ Driving innovative organization และตัวอย่างนวัตกรรมของประเทศจีน จากคลิปการบรรยายหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร” ในระบบ e-learning ของสำนักงาน ก.พ. (3) ซึ่งอาจารย์พันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์ ได้บรรยายไว้อย่างละเอียดและมีเอกสารประกอบทำให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น แล้วพบกันใหม่กับการแนะนำแหล่งความรู้จากระบบ e-Learning ซึ่งจะเป็นวิถี New normal หลังวิกฤติโควิด-19 ของพวกเราทุกคนนะคะ (1) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) https://www.nia.or.th/5ID(2) ส่วนสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ http://www.dgr.go.th/skr/th/newsAll/257/2295(3) สำนักงาน ก.พ https://www.ocsc.go.th/LearningPortal
19 พ.ค. 2020
กง. ลุยชี้แจงการทำแผนปฏิบัติราชการ
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 กง.กสอ. นำทีมโดยนางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ พร้อมด้วยทีมงานกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เข้าชี้แจงการจัดทำแผนการขับเคลื่อน SME สู่ 4.0 (แผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน) ให้กับกองพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการจัดทำแผนและการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงาน ในการส่งเสริม พัฒนาผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ และมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน และนำไปสู่การปฏิบัติ
19 มี.ค. 2020
ขอแสดงความยินดี คนดี ศรี กสอ. ประจำปี 2562
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณ "คนดี ศรี กสอ." ประจำปี 2562 จำนวน 9 ท่าน เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 78 ปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการปฏิบัติงานราชการอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้รับคะแนนโหวต "คนดี ศรี กสอ." จำนวน 2 ท่าน คือ นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ นายวีระศักดิ์ ชุตินันทกุล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ
12 มี.ค. 2020
รองใบน้อย นำทีม กสอ. หารือแนวทางช่วยเหลือรายย่อย ส่งเสริมการค้าชายแดน
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยทีมงานกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เข้าร่วมการประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการ การเงิน การคลังฯ เพื่อหารือแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ในการพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจชายแดน โดยจะดำเนินการนำร่องที่ด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ (Surin Model) ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารรัฐสภา
12 มี.ค. 2020
รองเจตฯ พร้อมทีมยุทธศาสตร์ หารือมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ; สุรินทร์ Model ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการติดตามระบบการเงิน การคลัง และระบบเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 20 ก.พ.63 เวลา 9.30 น. รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย พร้อมด้วย ผอ.กง. กสอ. นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และทีมงาน ได้เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตามระบบการเงิน การคลัง และระบบเศรษฐกิจ เพื่อหารือมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ; สุรินทร์ Model โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ผู้แทน สสว. ผู้แทนธนาคารออมสิน และผู้แทน SME Bank ณ ห้องประชุม 203 อาคารรัฐสภา
20 ก.พ. 2020
Business meeting Tour in FUKUOKA โอกาสดีที่ SMEs ห้ามพลาด!
จังหวัดฟูกูโอกะและบริษัทที่เกี่ยวข้องด้านอาหารของไทย จัดโครงการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนจังหวัดฟูกูโอกะกับเอกชนไทยในอุตสาหกรรมอาหาร โอกาสดีสำหรับ SMEs ที่ต้องการสานฝันทางการค้าและการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น โดยงานนี้ได้รับความร่วมมือจากสถานกงสุลใหญ่ประเทศไทย ณ เมืองฟูกูโอกะ การันตีคู่ค้าที่สามารถไว้ใจได้โดยรัฐบาลท้องถิ่น SMEs ที่สนใจงานเจรจาธุรกิจกับบริษัทผู้ซื้อจากต่างประเทศ ผู้นำเข้า ผู้ค้าปลีกรายย่อย สามารถส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ทางอีเมล intercoop.dip@gmail.comสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-202-4592 คุณเกวลี ล่อใจด่วน‼️ ช้าหมดตกไฟล์ท✈ คลิกเลย http://bit.ly/31PvjmB
13 ก.พ. 2020