หมวดหมู่
กิจกรรม“คนดี ศรี กง.กสอ. ที่ DIPROM” 2568
นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร กิจกรรม “คนดี ศรี กง.กสอ. ที่ DIPROM” 2568 โดยมอบแก่บุคลากรที่มีคุณธรรม จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรภายในสังกัด ซึ่งมีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 57 คน ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รายชื่อบุคลากรที่ได้รับประกาศนียบัตร ได้แก่ ด้านพอเพียง (นางสาวนันทนา ตุ้มทอง) ด้านวินัย (นางอรพิน อุดมธนะธีระ) ด้านสุจริต (นางสาวศุภากร เล้าสกุล) ด้านจิตอาสา (นางนภกานต์ ผาสุข) ด้านกตัญญู (นายวีระศักดิ์ ชุตินันทกุล)
20 มี.ค. 2568
กิจกรรม “หน่วยงานส่งเสริมคุณธรรม กง.กสอ. ที่ DIPROM” 2568
นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร กิจกรรม“หน่วยงานส่งเสริมคุณธรรม กง.กสอ. ที่ DIPROM” 2568 โดยมอบแก่หน่วยงานที่มีคุณธรรมเป็นแบบอย่าง จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรและหน่วยงานภายในสังกัด ซึ่งมีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 57 คน ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน่วยงานที่ได้รับประกาศนียบัตร ได้แก่ ด้านพอเพียง (กลุ่มศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม) ด้านวินัย (ฝ่ายบริหารงานทั่วไป) ด้านสุจริต (กลุ่มแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ) ด้านจิตอาสา (กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร) ด้านกตัญญู (กลุ่มติดตามและประเมินผล)
20 มี.ค. 2568
ดีพร้อม งดรับ งดให้ ของขวัญหรือของกำนัลทุกชนิดที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ก่อน/ในขณะ/หลังปฏิบัติหน้าที่
ดีพร้อม งดรับ งดให้ ของขวัญหรือของกำนัลทุกชนิดที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ก่อน/ในขณะ/หลังปฏิบัติหน้าที่
25 ก.พ. 2568
งดรับ งดให้ ของขวัญ หรือของกำนัลทุกชนิด
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30 น. นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นำทีม กง.กสอ. โดยมีนางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกลุ่ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมกันประกาศนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งจะต้องยึดแนวทางการปฏิบัติตนด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม งดรับ งดให้ ของขวัญ หรือของกำนัลทุกชนิด ก่อน/ในขณะ/หลังการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
25 ก.พ. 2568
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อน การเป็น “องค์กรคุณธรรมต้นแบบ”
กองยุทธศาสตร์และแผนงานประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการเป็น “องค์กรคุณธรรมต้นแบบ” วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นำทีม กง.กสอ. ประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีนางอรพิน อุดมธนะธีระนักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกลุ่ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัดร่วมกันลงนามรับทราบประกาศนโยบายขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
25 ก.พ. 2568
ประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ครั้งที่ 1/2568
ประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ครั้งที่ 1/2568 วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.00 น. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน จัดประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ครั้งที่ 1/2568 นำโดย นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ และนางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ประธานคณะทำงานฯ ร่วมด้วยผู้อำนวยการกลุ่ม หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป และเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นคณะทำงานฯ ร่วมกันพิจารณาทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ และแนวทางการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรมของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เพื่อให้บรรลุตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดดีพร้อม ให้ขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมเป็น “องค์กรคุณธรรมต้นแบบ”
21 ก.พ. 2568
"ดีพร้อม" เร่งเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ OTAGAI รุ่นที่ 2
"ดีพร้อม" เร่งเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ OTAGAI รุ่นที่ 2 เตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจไทย - ญี่ปุ่น สู่งาน Thailand International Motor Expo 2024 กรุงเทพฯ 26 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล” รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อโอกาสการขยายธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ตามแนวทาง OTAGAI (The OTAGAI Forum of TH – JP Business Network) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องศรีนครินทร์ 1 ชั้น 1 โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดยการ “Save อุตสาหกรรมไทย” ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดีพร้อม จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้มีความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกิจกรรมตามแนวทาง OTAGAI เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโอกาสสำหรับการขยายธุรกิจในตลาดสากล สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล รุ่นที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเหล็กและพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและเป็น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่อยู่ใน S-Curve โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจและเข้าร่วมกว่า 70 คน จาก 50 กิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจะดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 10 กิจการ ที่ผ่านการฝึกอบรมรุ่นที่ 2 ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ตลาดสากล พร้อมผ่านกระบวนการพัฒนาโดยดีพร้อมไปเป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ งาน Thailand International Motor Expo 2024 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ 1 - 3 เมืองทองธานี
27 พ.ย. 2567
อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2566 กับการสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ
การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของโลก (World Digital Competitiveness) โดย IMD เป็นการวัดความสามารถในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศนั้น ๆ สามารถปรับปรุงและพัฒนาด้านดิจิทัล เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกได้ โดยในปี 2566 มี 64 ประเทศเข้าร่วมการประเมิน รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย สำหรับเกณฑ์การประเมิน แบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ความรู้ (Knowledge) 2) เทคโนโลยี (Technology) 3) ความพร้อมในอนาคต (Future readiness) รวมทั้งหมด 52 ตัวชี้วัด การเก็บข้อมูลแบ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล (Hard data) เช่น สถิติจากหน่วยงานรัฐบาล หรือข้อมูลจากองค์กรระดับสากล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นเชื่อถือ และการเก็บข้อมูลจากแบบสำรวจ (Survey data) โดยส่งแบบสำรวจให้กับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในแต่ละประเทศตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวด้านดิจิทัลและศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งประเทศไทยมีสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA) เป็นหน่วยร่วม (Partnership) อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ได้ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น “ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุดใหม่” แผนย่อย “การสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ” ซึ่งกำหนดเป้าหมายคือ “ความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีดิจิทัลดีขึ้น” ตัวชี้วัดคือ “ความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีดิจิทัล” ค่าเป้าหมายคือ อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ไม่เกินอันดับที่ 30 ภายในปี 2566-2570 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2566 อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2562-2566 ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของโลก โดย IMD ในปี 2566 ประเทศไทยได้อันดับ 35 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5 อันดับ เป็นผลมาจากการเลื่อนอันดับของปัจจัยความรู้ (Knowledge) ดีขึ้น 4 อันดับ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี Technology ดีขึ้น 5 อันดับ และปัจจัยความพร้อมในอนาคต (Future readiness) ดีขึ้น 7 อันดับ แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับต่ำกว่าค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดไว้ไม่เกินอันดับที่ 30 โดยปัจจัยด้านความรู้และความพร้อมในอนาคต เป็นปัจจัยที่ต้องได้รับการพัฒนา เนื่องผลการประเมินอยู่ในอันดับต่ำ และรายงานของ IMD ระบุจุดอ่อน (Weakness) ที่ต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนา มีดังนี้ 1) ปัจจัยความรู้ (Knowledge) เกณฑ์ตัวชี้วัดที่เป็นจุดอ่อน คือ จำนวนเฉลี่ยของนักศึกษาต่ออาจารย์ในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (Pupil-teacher ratio; tertiary education) และร้อยละของการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค (Scientific and technical employment) อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2566 : ปัจจัยความรู้ (Knowledge) 2) ปัจจัยความพร้อมในอนาคต (Future readiness) เกณฑ์ตัวชี้วัดที่เป็นจุดอ่อน คือ ร้อยละของครอบครัวที่มีแท็บเล็ต (Tablet possession) ร้อยละของการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่มีใบอนุญาต (Software piracy) และความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัฐบาล (Government cyber security capacity) อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ปี 2566 : ปัจจัยความพร้อมในอนาคต (Future readiness) สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งดำเนินโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ภายใต้แผนแม่บทย่อย “การสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการอัจฉริยะ” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนา SME ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านการให้คำปรึกษาเชิงลึกและการฝึกอบรม ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเลื่อนอันดับขึ้นของตัวชี้วัดภายใต้ ปัจจัยความพร้อมในอนาคต (Future readiness) ปัจจัยย่อยความคล่องตัวทางธุรกิจ (Business agility) ซึ่งในปี 2566 เลื่อนอันดับขึ้น 7 ลำดับ จากลำดับที่ 41 เป็น 34 แต่อย่างไรก็ตามยังมีเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ผลการประเมินอยู่ในระดับต่ำมาก ได้แก่ ผู้ประกอบการกลัวความล้มเหลว (Entrepreneurial fear of failure) ดังนั้นเพื่อให้อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยดีขึ้น ตามที่กำหนดไว้ไม่เกินอันดับที่ 30 ต้องเร่งดำเนินการให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือการให้คำแนะนำปรึกษาเชิงลึกเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึง และสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล นางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบานและแผนเชียวชาญกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม10/07/6 แหล่งที่มาข้อมูล : https://imd.widen.net/view/pdf/udyxlqhqiz/TH_digital.pdf
11 ก.ค. 2567
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ ปี พ.ศ. 2567
สำนักงาน ก.พ.ร. ขอเชิญร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ ปี พ.ศ. 2567 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบริการภาครัฐและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยสามารถแสดงความเห็นได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2567 ได้ที่ https://opdc24.bitco.ltd/index.php หรือสแกน QR code ที่ปรากฏด้านล่าง #ทุกความเห็นมีความหมาย #อำนวยความสะดวก #betterservice #CitizenSurvey67
01 ก.ค. 2567
กง.กสอ. เผยแพร่เอกสาร สื่อ องค์ความรู้จากการดำเนินการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน เผยแพร่เอกสาร สื่อ องค์ความรู้จากการดำเนินการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน แสดงเจตนารมณ์มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมคุณธรรมในองค์กรและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมคุณธรรม โดยการบริหารจัดการภายในองค์กรให้เป็นไปตามนโยบายขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม คุณธรรมเป้าหมาย ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในองค์กรมีคุณธรรมเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต มุ่งสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อจัดทำเอกสาร เผยแพร่ ในหัวข้อ “การดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” จึงได้จัดทำสื่อเผยแพร่การดำเนินงานผ่าน 3 รูปแบบ ได้แก่ คลิปวิดีโอ พาวเวอร์พอยท์ และบอร์ดนิทรรศการประจำหน่วยงาน เพื่อเป็นองค์ความรู้ จากผลสำเร็จของการดำเนินการ และพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่น ๆ ได้
12 มิ.ย. 2567