Category
T-DED HONGTAE หนึ่งในสินค้าถุงดีพร้อม ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับบริจาคสินค้าสเปรย์การ์ด แอลกอฮอล์ แบบพกพา จำนวน 1,500 ตลับ และเนื้อไก่/ปลาแท่งอบกรอบ T-DED HONGTAE (คละรส) จำนวน 480 ซอง จาก บริษัท ธนาสิริวัจน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้เข้าร่วมหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากร กสอ. สู่การเป็นนักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (DIProm Online Marketeer)” รุ่นที่ 1 โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะนำสินค้าดังกล่าวมารวบรวมและบรรจุในถุงดีพร้อม (ถุงยังชีพ) สำหรับส่งมอบให้ประชาชน และผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อไป
05 ต.ค. 2021
เปิดปีงบ 65 ลุยส่องทิศทางนโยบายโลก เพื่อทบทวนกำหนดยุทธศาสตร์ในอนาคต
วันที่ 4 ตุลาคม 2564 นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในการบูรณาการข้อมูลวิสัยทัศน์ และแผนปฏิบัติการของกระทรวงอุตสาหกรรม และที่เกี่ยวข้องกับ SME ของประเทศต่าง ๆ อาทิเช่น อาเซียน, อาเซียน +3, อาเซียน +6, อาเซียน +9, และประเทศอื่น ๆ ที่มีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทียบเคียงกันและมีจุดเด่นจุดยืนที่มีความน่าสนใจและสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนของไทยให้สามารถมแข่งขันได้ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และแผนงานเข้าร่วมรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเป็นข้อมูลประกอบในการทบทวน กำหนดยุทธศาสตร์ทิศทางนโยบาย และการดำเนินงานต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป
04 ต.ค. 2021
Web-based CEO Business Meeting Event for New Value Creation Exhibition 2021
⚠️⚠️ หากคุณ ⚠️⚠️ ✅ กำลังมองหาเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ✅ ต้องการพัฒนาความร่วมมือในระยะกลางถึงยาวร่วมกับผู้ประกอบการญี่ปุ่น ✅ ต้องการขยายตลาดสู่สากล ✅ ต้องการปรับปรุงกระบวนการผลิต ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม “Web-based CEO Business Meeting Event for New Value Creation Exhibition 2021” เพื่อเจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่น ผ่านระบบ Microsoft Team ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย กรอกแบบฟอร์มใบสมัครได้ที่ https://krs.bz/smrj/m?f=286 หรือสแกน QR Code ใน Poster ประชาสัมพันธ์ ภายใน วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 แล้วพบกันวันจันทร์ที่ 6 - วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2564
20 ก.ย. 2021
DIProm Japan Desk - งานสัมมนาการเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น ผ่านการดำเนินงานของโต๊ะญี่ปุ่น ในรูปแบบออนไลน์
เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย งานสัมมนาการเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น ผ่านการดำเนินงานของโต๊ะญี่ปุ่น (DIProm Japan Desk) ในรูปแบบออนไลน์ วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 13:30 – 16.30 น. ผ่านทาง Zoom (ภาษาไทย หรือ ภาษาญี่ปุ่น) และ Facebook Live สนใจลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/XXGakToEURmtaqvz7 พร้อมรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายจากการเข้าร่วม เช่น 1. เรียนรู้วิธีการใช้งานแพลตฟอร์ม T-GoodTech x J-GoodTech ในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ SMEs ของไทยและญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ 2. รับฟังการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดญี่ปุ่น รวมทั้งแนวทางการสร้างโอกาสในการร่วมธุรกิจของ SMEs ของไทยและญี่ปุ่น โดยวิทยาการจาก Office FA.com ผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม Factory Automation ในญี่ปุ่น 3. รับฟังการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของ SMEs ไทยที่เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ Online Matching Café กับผู้ประกอบการญี่ปุ่น 参加は無料! 海外市場との新たな取引に向けて 日本企業との接点を作る 1. 日本とタイの中小企業を繋ぐプラットフォーム J-GoodTech と T-GoodTechの利活用を紹介! 2. F/A ロボット分野で活躍する日本の中小企業「Office FA.com」に、日本市場の現状や、協業などの接点をタイ企業はどのように作れるか講演 3. プラットフォームを利用したオンライン商談「Online Café」について 実際に参加し、取引を始めたタイ企業とパネルディスカッションを実施 申込は以下のグーグルフォームから! https://forms.gle/XXGakToEURmtaqvz7 日程:2021年9月10日(金)13:30~16:30 (タイ時間) オンライン:Zoom(日・タイ言語逐次通訳あり) Facebook Live(日・タイ言語逐次通訳なし) ※アンケートへ回答頂けた方に、資料を送付
08 ก.ย. 2021
อธิบดีณัฐพลปิดงานอบรม DIPROM Regional Academy รับฟังแผนพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ของหน่วยงานภูมิภาค เพื่อส่งต่อความรู้สู่การพัฒนาเชิงพื้นที่
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดการอบรมหลักสูตร“พัฒนาบุคลากรระดับภูมิภาคสู่การเป็นหน่วยงานวิชาการ” หรือ DIPROM Regional Academy ภายใต้กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และนายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 – 11 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และคณะผู้บริหาร ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กสอ. กล่าวรายงาน โดยแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค ถือเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่ และเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานภูมิภาค ในการเชื่อมโยงเข้ากับการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศ รวมถึงการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่และเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้แม่ทัพใหญ่ กสอ. ได้กล่าวชื่นชมบุคลากรศูนย์ฯ ที่มีความตั้งใจในการเข้าร่วมอบรมและช่วยกันจัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ก่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการจัดทำแผนทั้งในเชิงทฤษฎีและได้ทดลองฝึกปฏิบัติจริงภายใต้สภาพการณ์ปัจจุบันซึ่งยังคงมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้มีความยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูลติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจในพื้นที่ และได้ทิ้งท้ายให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่านเป็นต้นแบบในการนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลให้กับบุคลากรในศูนย์ฯ เพื่อพัฒนาแผนพัฒนาอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ต่อไป Cr. : PR.DIPROM & Strategy DIPROM
24 ส.ค 2021
โสดเป็นอาชีพ
โลกนี้มีคนโสดจำนวนไม่น้อย แล้วทางแก้ไข ทางออก หรือทางผลักดันสนับสนุนคืออะไร แล้วจะกลายเป็นการเปิดประตูของธุรกิจใหม่ได้หรือไม่? การจับธุรกิจคนโสดก็ต้องเริ่มจากการเลือกคำตอบให้ได้ก่อน ว่าคุณจะเลือกอยากหรือไม่อยาก อยากคือ โสดเพราะอยากโสดจริง (เหตุผลลึกลงไปก็เป็นเหตุผลส่วนบุคคล ก็ว่ากันตามนั้น) ไม่อยากคือ โสดจริงแต่ไม่อยากโสด ไม่ได้ตั้งใจโสด (อารมณ์เหงาเปล่าเปลี่ยวแต่อยู่คนเดียวแบบไร้คู่) แค่ 2 ตัวเลือกถึงจะโสดเหมือนกันแต่คำตอบก็ต่างกันแล้วค่ะ สิ่งสำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจก็คือ การวิเคราะห์ลูกค้าที่เจ้าของธุรกิจต้องมองให้ชัดว่า Target Market คือใคร ยิ่งโฟกัสได้ชัดเจนและเข้าใจลูกค้าลึกซึ้งถึงความต้องการ (Need) เท่าไหร่ยิ่งดี เพราะโอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย 1. ธุรกิจเสริมโสด(หากคุณเลือกธุรกิจสนับสนุนคนโสดที่ตั้งใจอยากโสดจริง ๆ) ตอนนี้ข่าวออกให้ครึกโครมว่าประชากรโลกลดลง คนเกิดน้อยคนสูงวัยมีมากจนเป็น Aging Society ยิ่งช่วงหลังมานี้มีกระแสว่าผู้หญิงนิยมครองตัวโสด จนไม่นานมานี้ถึงขั้นมีคนกล่าวว่า การที่ผู้หญิงไม่แต่งงานได้กลายเป็นเทรนด์เป็นแฟชั่นไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าจำนวนสาวโสดมีมากกว่าชายโสด ยิ่งประเทศที่เศรษฐกิจมีการพัฒนาสูงยิ่งมีสัดส่วนคนโสดเป็นจำนวนมาก เช่น สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนคนโสดถึง 85 ล้านคน ส่วนประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างจีน มีจำนวนประชากรโสดสูงถึง 200 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทย ปี 2562 มีประชากรกลุ่มนี้ประมาณ 15.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มี 13.8 ล้านคน การคิดธุรกิจควรเริ่มจากการตั้งคำถามง่าย ๆ เริ่มจากการ Clear cut ในสิ่งที่คนโสดจะขาดหายไปนอกจากคู่ชีวิตแล้วมีอะไรบ้าง คนโสดต้องการอะไรมาเติมเต็ม อะไรที่คนโสดไม่มีแต่มีความจำเป็นต้องมีในอนาคตอีกไม่รู้กี่สิบปีหรือในเวลาระยะอันสั้นข้างหน้า ต้องอย่าลืมว่าคนโสดอยู่คนเดียวไม่มีภาระต้องรับผิดชอบสูงเท่าคนที่มีครอบครัว เพราะฉะนั้นคนโสดจึงมีอำนาจและพลังในการจับจ่ายใช้สอยสูง เงินที่คนโสดหาจะหมดไปกับของกินที่ตอบสนองความชอบ ของใช้ที่ Support การใช้ชีวิตคนเดียว ซึ่งคนโสดในแต่ละ Generation ก็จะมีไลฟ์สไตล์และควาต้องการที่แตกต่างกันออกไปอีก Baby Boomer [1946-1964] กับ Gen X [1965-1980] สองกลุ่มนี้เน้นคุณค่าจากการอยู่เป็นโสด เริ่มมีความรอบคอบในการวางแผนการใช้ชีวิตรวมถึงการวางแผนทางการเงินมากขึ้น โดยมีการมองหาสินค้าหรือบริการที่อำนวยความสะดวกสบาย บางรายเริ่มมองหาธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการซื้อบริการประกันชีวิตหรือการมองหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว อีกข้อมูลที่น่าสนใจของ Baby Boomer ที่หลายคนน่าจะรู้เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต ที่มีสัดส่วนการใช้งาน Facebook มากกว่าหนุ่มสาวถึง 19% หรือพฤติกรรมการโหลดเกมหรือ Streaming e-sport มากถึง 82% เห็นชัดถึงเวลาว่างที่มีมากและการเข้าสู่ Digizen ของคนวัยเกษียณ Millennial หรือ Gen Y 2021 [1981-1996] เป็นกลุ่มช่วงคนทำงานที่มีความยืดหยุ่น ในการจับจ่ายซื้อสินค้าค่อนข้างมาก เพราะไม่ต้องแบ่งเวลาในการดูแลครอบครัว สามารถบริหารเวลาในช่วงที่ว่างจากการทำงานได้ดีกว่า รวมถึงมีการวางแผนทางด้านการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิตไม่เข้มงวดมากนัก ซึ่งจากไลฟ์สไตล์ดังกล่าวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้จึงถูกใช้ไปในกิจกรรมที่สร้างความสมดุลให้ชีวิตและหน้าที่การงาน การเข้าสังคมโดยใช้ Co-Working Space ไปจนถึงธุรกิจร้านอาหารแบบ one - person restaurant ที่บริการลูกค้าที่มาคนเดียว ซึ่งเริ่มมีให้เห็นในไทยบ้างแล้ว สรุปง่าย ๆ Gen Y ใส่ใจในการใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างอิสระและเรียบง่าย 2. ธุรกิจสลายโสด (หากคุณเลือกธุรกิจช่วยเหลือคนโสดให้เจอรักแท้) การเกิดวิกฤติ COVID-19 ทำให้อัตราการมีลูกลดน้อยลงตามไปอย่างหลีกเลี่ยงยาก เนื่องจากมีการใช้มาตรการ Social distancing เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 ไปทั่วโลก การพบปะผู้คนใหม่ ๆ จึงกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมากสำหรับคนโสด ส่งผลให้บริการหาคู่ออนไลน์เฟื่องฟู เป็นอุตสาหกรรมที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดย Dating Apps มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2562 และ ปี 2563 เติบโตเพิ่มขึ้น 19% และ 66% ของผู้ใช้งานคือกลุ่มคนอายุ 16 - 34 ปี ซึ่งในเดือนมกราคม 2564 เพียงเดือนเดียว Tinder แอปพลิเคชันหาคู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 6 ล้านครั้ง มีตลาดที่กำลังเติบโตคือตลาดเอเชีย เป็นสัดส่วนในจีนมากถึง 19% ของประชากรผู้ใหญ่ที่ใช้การหาคู่ออนไลน์ และเป็นอันดับ 1 ของแอปพลิเคชันที่คนยอมจ่ายเพิ่ม (Consumer Spend) ในปี 2563 เพื่อให้ได้เข้าถึงฟีเจอร์นั้น ๆ มากขึ้นอีกด้วย อีกตัวอย่างที่จับความโสดมาเล่นในธุรกิจก็คือบริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ที่ได้เปลี่ยนวันคนโสดเป็นโอกาสในการช้อปปิ้ง โดยได้เริ่มเปิดตัวมหกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ 11:11 ซึ่งในปีแรกสามารถสร้างยอดขายได้ถึง 52 ล้านหยวนภายในวันเดียว ทำให้วงการ shopping เปลี่ยนไปรุนแรงยิ่งกว่า Black Friday งาน Sale หลังวันขอบคุณพระเจ้าของฝั่งสหรัฐอเมริกาที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 การหาคู่ออนไลน์ที่มาแรงในหลายปีมานี้ ทำให้เห็นว่าถึงจำนวนคนครองโสดจะเพิ่มขึ้นแต่จำนวนคนที่ต้องการหาคู่ก็มีเพิ่มขึ้นตามไม่ได้น้อยลงทั้งที่จำนวนคนเกิดใหม่ก็มีน้อย หรือแท้ที่จริงแล้วที่คนเหล่านี้ยังโสดเพราะในขั้นตอนการหาคู่เหล่านั้นที่มีอยู่ในปัจจุบันยังขาดอะไรบางอย่างที่จะมาเติมเต็มให้สมบูรณ์และทำให้หาคู่สำเร็จในจำนวนที่มากเพิ่มขึ้น แล้ว Gap ช่องว่างที่ว่าคืออะไร? (อันนี้คงต้องฝากผู้อ่านไปช่วยกันวิเคราะห์ในวงสนทนาเพิ่มเติม) แต่ที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดเพราะมีคนลงมือหาทางออกให้คนโสดบ้างแล้ว ก็เห็นจะเป็นคนที่มีหมุดต้องหาทางเพิ่มประชากรคนไทยให้ได้อย่างกระทรวงสาธารณสุขที่ออกแคมเปญโสดมีตติ้ง และของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอย่าง Single Journey เส้นทางสละโสด หรือจะเป็นคนที่มองเห็นโอกาสอย่าง EVA Airways ของไต้หวันที่ออกเที่ยวบินคนโสด Fly! Love is in the Air และการบินไทยที่มีแคมเปญสวดมนต์บนฟ้า ธุรกิจ กิจกรรมส่งเสริมการตลาด หรือแคมเปญเฉพาะกิจเหล่านี้ ล้วนเป็นผลมาจากการวิเคราะห์สภาพภายนอก Environmental Analysis โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค Customer Journey อย่างดีนั่นเอง เพราะทุกความสำเร็จล้วนมีที่มาที่ไป ไม่ใช่โชค(ชะตา)ช่วย บุพเพสันนิวาสชักนำ หรือพรหมลิขิต Destiny เหมือนอย่างความรักแน่นอน Pain point ที่เกิดจากความต้องการที่แท้จริงจะเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่ตอบสนองคนโสดให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอิสระเสรีในแบบของตัวเองได้อย่างแท้จริง ...สุดท้ายเมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้เสร็จแล้ว ธุรกิจเพื่อคนโสดอาจไม่ใช่ Goods & Services หลักของธุรกิจคุณก็ได้ แต่ผลของการทุ่มเทศึกษา Need ของตลาดกลุ่มคนโสดในแต่ละ Gender ในแต่ละ Generation ด้วยความเข้าใจ มันอาจผลักดันให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ จนสามารถจุดประกายแนวคิดแล้วครีเอทสินค้าหรือบริการ จนนำไปสู่การแตกไลน์หรือเพิ่มแคมเปญเพื่อเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้ กลายเป็น Business support ที่ตอบโจทย์คนโสดในสภาพสังคมและบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผลลัพธ์นอกจากผลกำไรทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ธุรกิจคุณยังได้บุญไม่ทางตรงก็ทางอ้อมจากการเป็นผู้สนับสนุนความโสดอย่างเป็นทางการด้วย ทั้งจากการเสริมความโสดให้แข็งแกร่ง อย่างเช่นแพ็กเกจเอาใจคนโสดที่แก้ปัญหาขจัดอุปสรรคเพิ่มสีสันให้กับชีวิตทั้งการอยู่อาศัย การกิน การท่องเที่ยว สุขภาพ ไลฟ์สไตล์และความบันเทิงที่ต้องจัดพิเศษพรีเมียมเอาใจคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ และ จากการสลายความโสดทิ้งลงจากคาน อาทิเช่นกิจกรรมที่ต้องมีคู่ถึงทำร่วมกันได้ ก็ต้องผุดสินค้าและบริการมาเติมเต็มความรู้สึกที่ขาดหายไป พร้อมกับช่วยพวกเขาเหล่านั้นหาคู่กันให้โจ่งแจ้งไปเลย เอาให้ถูกจริตทั้งสายวิทย์ สายมู สายแซ่บ สายเขินไม่กล้าแสดงออก ให้คิดแบบบ้าเพ้อฝันที่คนชอบพูดกันว่า “ถ้ามีแบบนี้ก็ดีเนอะ” แล้วค่อยกรุยทางตามหลักธุรกิจไปทีละสเต็ปรับรองรายได้ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม “เพียงคุณจับจุดคนโสดให้ได้ คุณก็จะจับธุรกิจคนโสดได้” นางสาวชโลธร เงาปัดชา นักวิชาการอุตสาหกรรม กลุ่มศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลอ้างอิง 1. รายงาน Future Consumer 2021 - GlobalWebIndex [https://www.gwi.com/reports/trends-2021]2. รายงานเจาะเทรนด์โลก 2021 - TCDC [https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail/Trend-2021-Reform-this-Moment] 3. Future Consumer 2023 [https://www.wgsn.com/en/]4. Singles worldwide - Statistics & Facts [https://www.statista.com/topics/999/singles/]5. เจาะลึกอินไซต์ “คนโสด” ตลาดใหญ่มาแรงที่แบรนด์และนักการตลาดต้องเกาะติด [https://www.brandbuffet.in.th/2020/09/kresearch-insight-single-market/]
29 ก.ค. 2021
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำอุตสาหกรรมไทย Fight Covid-19 Round 2
กลับมาอีกครั้งกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำอุตสาหกรรมไทย Fight Covid-19 Round 2 ล็อคดาวน์โควิด แต่ธุรกิจต้องไม่สะดุด (what's up?) พบกับ 4 หัวข้อ ยุทธวิธี ตีตลาดแตกในช่วงโควิด-19 ถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ในวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2564 วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 - 12.00 น. พบกับหัวข้อ “ตีตลาดให้แตก แหกโควิด ด้วยดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง” โดย : คุณชัยพนธ์ ชวาลวณิชชัย (ครูชัย M.I.B.) เวลา 13.30 - 16.30 น. พบกับหัวข้อ “ยอดขายแรง แซงโควิด สร้างธุรกิจ ผ่าน LINE โดย : คุณกิตติชัย ปรีน้อย (อาจารย์ออดี้ นินจาการตลาด) วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 - 12.00 น. พบกับหัวข้อ “ทางรอดโควิด ไม่ยึดติดแค่ไทย มองหาโอกาสใน CLMV” เวลา 13.00 - 16.30 น. พบกับหัวข้อ “ใช้ Facebook รุกตลาด CLMV ไม่ต้องหนีล็อกดาวน์” โดย : คุณภูคณิศา ธนัชปิติโชติ (อาจารย์บีม) เพจ AEC by Beam : คุณณัฏฐชัย อุดมวิทยารัตน์ (อาจารย์ชัย) ผู้บริหาร AEC TRADE CENTER สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกใน Facebook Group : DIProm Fight Covid-19 และเคยลงทะเบียนใน Round 1 แล้ว สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/EuLNAMWLVqw4joex5 สำหรับผู้ที่ ไม่เคยลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/tSLsrhGAtQzvUbW59 ท่านจะได้รับลิงค์เข้า Facebook Group เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้ว
27 ก.ค. 2021
INNOvation บ้า-กล้า-คิด
โอกาสที่จะได้ปลดปล่อยไอเดียความคิดสร้างสรรค์ของคุณมาถึงแล้ว !!!! กับโครงการ “INNOvation บ้า-กล้า-คิด” พร้อมชิงเงินรางวัลสนับสนุนไอเดียสูงสุด 3,000,000 เยน (ประมาณ 1,000,000 บาท) และของรางวัลสุดพิเศษอีกมากมาย ในโลกยุคปัจจุบันต้องการ “ทักษะการค้นพบประเด็นปัญหาที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน” กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารประเทศญี่ปุ่นจึงจัดโครงการ “INNOvation บ้า-กล้า-คิด” ขึ้นมาเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการค้นพบที่จะนำไปสู่ “การสร้างสรรค์สิ่งใหม่” โดยได้มีการเปิดรับไอเดียสุดล้ำ ไม่ว่าจะเป็นไอเดียเล็กๆ หรือ ไอเดียยิ่งใหญ่ทุกรูปแบบ ประเภทที่รับสมัคร 1. สาขา Disruptive Challenge เปิดรับไอเดียด้านเทคโนโลยีที่ท้าทายต่อประเด็นปัญหาในสังคมและภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนในยุควิถีชีวิตแบบ New normal พร้อมแผนที่จะทำไอเดียให้เป็นจริง รางวัล : เงินสนับสนุนสูงสุด 3,000,000 เยน (ระยะเวลาท้าทาย 1 ปี) พร้อมรับรองคุณวุฒิ INNOvator 2. สาขา Generation Award เปิดรับไอเดียสร้างสรรค์ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเล็กใหญ่ในชีวิตประจำวันได้ เพียงหยิบยกปัญหาเล็กๆ ในชีวิตประจำวันพร้อมไอเดียแก้ไข หรือเทคโนโลยีที่คุณอยากจะให้มีจริงๆ รางวัล : รางวัลสุดพิเศษจากผู้ประกอบการใจดี คุณสมบัติผู้สมัคร : สมัครได้ทุกเพศทุกวัย ทุกอาชีพ ไม่จำกัด ขอแค่มีไอเดีย INNOvation เปิดรับสมัครไอเดียตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มิถุนายน - วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2021 (ปิดรับสมัครเวลา 16.00 น.) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.inno.go.jp/th/ หรือ ส่งไอเดียได้ทันทีที่ https://mediator.co.th/th/innovation2021/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด โทร 085-365-8299 (ผิง) / 094-323-4222 (นุ๊ก) อย่าพลาด!! โอกาสที่จะได้แสดงความสามารถไประดับโลก มีไอเดียมาก...ส่งมาก! ส่งได้ไม่จำกัดจำนวนเลยค่ะ!! #INNOvation2021 #INNOvationบ้ากล้าคิด ตัวอย่างไอเดียของคนไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าคัดเลือก 1. ตะเกียบวัดอุณหภูมิ 2. แคปซูลเย็น แคปซูลร้อน 3. การใช้คลื่นเสียงผลักน้ำฝน 4. Program สำหรับศูนย์ดูแลผู้ป่วยออนไลน์ สำหรับคนไทยและคนเอเชียที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้
14 ก.ค. 2021
มองอนาคตหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น
มองอนาคตหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยจัดสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “Envisioning the Future : Thailand-Japan Strategic Economic Partnership” เพื่อรับฟังมุมมองและข้อเสนอแนะจากผู้แทนภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชนชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในระดับแนวหน้าของญี่ปุ่นและไทยต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่นภายใต้โอกาสและความท้าทายในปัจจุบัน อาทิ การปรับโครงสร้างฐานการผลิตในภูมิภาคของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นขนาดใหญ่ และสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักถึงการเสริมสร้างความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานโดยมุ่งส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ภายใต้บริบทดังกล่าว ไทยควรต้องปรับตัวเสริมสร้างจุดแข็ง และเพิ่มพูนศักยภาพทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจการค้าการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นได้อย่างยั่งยืนอย่างไร มาร่วมกันหาคำตอบกันในการสัมมนาฯ ตามรายละเอียดดังนี้ หัวข้อ Envisioning the Future : Thailand-Japan Strategic Economic Partnership วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ภาษาไทย - ญี่ปุ่น (ล่ามแปลพร้อม) ช่องทาง ZOOM Webinar มีการกล่าว Keynote Speech โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ / Special Lecture โดยเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มีการเสวนาโดยผู้แทนภาครัฐ เอกชนชั้นนำ และภาควิชาการ ในแวดวงความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นเชิงเศรษฐกิจ ลงทะเบียนฟังสัมมนาตั้งแต่วันนี้ – 19 กรกฎาคม 2564 *ช่องทางการลงทะเบียน https://forms.gle/yqhxG6vKsqcPNaYk9 ** สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ทีมงานจะจัดส่ง Link สำหรับการเข้าร่วมการสัมมนาไปยังอีเมลของท่านเพื่อเป็นการยืนยันการเข้าร่วมงานก่อนวันสัมมนา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด (บริษัทผู้ดำเนินการจัดงานสัมมนา) สาวิณี โอฬารศิริศักดิ์ โทร: 086-892-6655 E-mail: savinee@mediator.co.th #Thailand #Japan #Strategic #Economic #Partnership
14 ก.ค. 2021
Voice Matter
Twitter ส่ง “#TwitterSpace” ลงในสนามแพลตฟอร์มเสียงออนไลน์ตีตลาด Clubhouse Just-in: 1. Clubhouse ได้เปิดตัว application เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2564 สำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือระบบ Android ซึ่งเป็นเวลา 1 ปีกว่า ๆ นับตั้งแต่ช่วงพฤษภาคม2563 ที่ Clubhouse ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์ฯ ระบบ iOS 2. Twitter ได้เปิดตัวฟีเจอร์ (feature) Space อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2564 หลังจากที่ Clubhouse ได้แย่งส่วนแบ่งผู้ใช้งานของแพลตฟอร์มสื่อสารออนไลน์ (ในรูปแบบเสียง) มาได้ปีกว่า! 3. Work From Home ที่กินระยะเวลานานกว่าปกติ และทำให้ผู้บริโภคต้องทำงานหน้าคอมมากขึ้น การเสพสื่อออนไลน์ผ่านเสียงหรือการพูดคุยผ่านแอป ฯ จึงขึ้นเป็นที่นิยมมากขึ้น นับเป็นเวลาเกือบ 1 ปี 4 เดือน (วันที่ผู้เขียนเขียนบทความ: 8 มิถุนายน 2564) ที่คนไทยประสบกับการเปลี่ยนแปลงจาก Covid-19 แต่หากพยายามมองหาข้อดีข้อคงจะเป็นการที่ Covid-19 ได้สร้างแนวทางใหม่ ๆ ให้มนุษย์ได้ปรับตัวในการใช้ชีวิต จึงทำให้บริการสนทนากลุ่มในรูปแบบเสียงแบบออนไลน์เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะ Clubhouse แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ iOS (iPhone) ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานได้เพิ่มความสะดวกในการสัมมนาออนไลน์เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น การสัมมนามีประเด็นหลากหลายที่ถูกหยิบยกขึ้นมา เช่น การหาทางออกของผู้ประกอบการ SMEs, ไทยการเทรดหุ้นสำหรับมือใหม่, การเยียวยาจิตใจในสภาวะวิกฤติ หรือธรรมะยามเช้า โดยลักษณะของการใช้ Clubhouse นั้นเพียงแค่มีโทรศัพท์ iPhone 1 เครื่อง (ณ ขณะนั้น) ขั้นตอนต่อมาผู้ใช้งานต้องได้รับการเพิ่มเพื่อนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห้อง ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ๆ คือ 1) Host 2) Moderator 3) Speaker และ 4) Participants โดยความสนุกในการใช้งานคือ ผู้ใช้งานที่มีชื่อเสียงมักจะแวะเวียนเข้ามาพูดคุยทั้งประเด็นที่ตนถนัดและประเด็นที่เราคาดไม่ถึง! และถ้าใครติดตามข่าวหรือเล่นโซเชียลช่วงนี้ก็จะเห็นว่า Twitter เองก็ออกฟีเจอร์ Space ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างห้อง (Space room) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ใช้งานได้ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกก็แล้วกัน ที่ผ่านมาการเข้าสู่ยุค New Normal ก็พาให้เรารู้จักสนิทสนมกับการประชุม Zoom Meeting การสัมมนา Webinar และทำให้เรารู้จักเพื่อนใหม่ทีสร้างความสุขการรีแล็กซ์ด้วยเสียงอย่าง Podcast ซึ่งก็ต้องยอมรับในข้อดีและข้อเสียอย่างเนื้อหาที่ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มผู้ฟังและมีการใช้งานที่เป็นทางการจนไม่น่าใช้งาน พอของเล่นใหม่อย่าง Clubhouse และ Twitterspace เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ประเภทเสียง ด้วยความสดใหม่และรูปแบบที่สร้างความตื่นเต้นให้ผู้บริโภคจนได้รับความนิยมในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยทั้งสองแอปฯ มีจุดเด่นกันคนละด้าน โดย Clubhouse ให้ประสบการณ์เล่าเรื่องราวในหัวข้อที่หลากหลาย ให้ความรู้สึกที่จริงจัง เสียงของผู้สนทนาไม่มีความล่าช้า และแอป ฯ ค่อนข้างเสถียรในการใช้งาน ในขณะที่ Twitter ให้ประสบการณ์ในการเปิดเผยตัวตนได้มากกว่าผ่านข้อความทางหน้าไทม์ไลน์ ผู้พูดสามารถหยิบยกเนื้อหา (content) ในรูปแบบภาพหรือวิดีโอสั้น ๆ ประกอบการสนทนาได้ และการพูดคุยใน Twitterspace ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์จากการกดติดตามและสามารถสร้างห้องเพื่อพูดคุยในกลุ่มผู้ใช้งานเดิม ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างกับ Clubhouse ที่คนแปลกหน้าสามารถเข้ามาร่วมสนทนาได้ ทั้งนี้ ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า แค่ใช้เวลาเพียง 1 ปี พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเสพสื่อออนไลน์ก็เปลี่ยนไป ทิศทางของการใช้งานเพื่อสนทนาผ่านแอป ฯ ยังมีอนาคตและสามารถต่อยอดได้อีกไกล Clubhouse และ Twitterspace ที่เห็นวิกฤตในโอกาสนี้ได้ผลักดันแพลตฟอร์มการสนทนาออนไลน์ซึ่งอาจจะไม่ขึ้นมาเป็นสังคมออนไลน์เบอร์หนึ่งในเร็ว ๆ นี้ แต่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสังคมออนไลน์ที่น่าสนใจ เพราะการใช้เสียงเพื่อการสื่อสารนั้นทรงพลัง เข้าถึงได้ง่าย และแสดงตัวตนของปัจเจกบุคคลนั้น ๆ ได้ชัดเจนที่สุดนั่นเอง ผู้อ่านลองเล่นหรือยังครับ ถ้าลองแล้วชอบอะไรมากกว่าหรือมองเห็นข้อดีข้อด้อยเหมือนหรือต่างจากผมครับ เมรนด์มาแล้วก็ไป แต่ถ้าเราศึกษาอย่างเข้าใจลึกลงไปเราจะได้แนวคิดการเริ่มต้นใหม่หลายข้อเลยครับ นายนนท์ เนียมสุวรรณ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
30 มิ.ย. 2021