Category
Model 1 เผยแพร่รายงานผลการศึกษาและพัฒนาระบบส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ รวมถึงศึกษานโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการในบริบทต่าง ๆ โดยผลการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวทางการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการ 2) แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการในรูปแบบการอบรมออนไลน์
05 พ.ย. 2020
“SE” See ให้ impact กระแทกใจ
SE ที่อ่านว่า “เอส-อี” ไม่ใช่ ซี ย่อมาจาก Social Enterprise ที่ช่วงหลายปีมานี้หลายคนคงจะได้ยินผ่านหูผ่านตามาไม่มากก็น้อย ซึ่ง SE หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม คือ องค์กรที่ประยุกต์กลยุทธ์ทางธุรกิจมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มนุษย์และสิ่งแวดล้อมแทนที่จะสร้างผลกำไรสูงสุดให้แก่เจ้าของและผู้ร่วมถือหุ้น หากจะถามว่าการทำธุรกิจแบบนี้มันดียังไง ตอบง่าย ๆ เลยนะคะ ธุรกิจรูปแบบนี้มันดีต่อใจเพราะธุรกิจต้องตั้งอยู่บนความไม่เห็นแก่ตัวนั่นเองค่ะ Stop! อย่าเพิ่งบึนปากคว่ำกันไปซะก่อนนะคะ เพราะสิ่งสวยงามแบบนี้นี่แหละที่จะช่วยจรรโลงสังคมและโลกให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น...ถูกต้องไหมคะ? ปัจจุบันในไทยมีวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากว่า 200 กิจการ และจดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมกว่า 130 กิจการ (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ย. 63) โดยการพัฒนาคนเป็นปัจจัยความสำเร็จหลักที่ทำให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถพึ่งพาตนเองได้ หรือความหมายโดยนัยที่ซุกซ่อนนั่นก็คือ การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมรวมทั้งทักษะผู้ประกอบการนั่นเอง นอกจากโมเดลทางธุรกิจจะมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการเพื่อสังคม ทำให้เกิดความยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันที่ดีแล้ว ระบบนิเวศ (Ecosystem) ของวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่แตกต่างกันทั้งด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบ กฎหมาย ประเด็นปัญหาที่ให้ความสนใจ รวมทั้งภูมิหลังทางภูมิศาสตร์และสังคมของแต่ละประเทศทำให้มีจุดแข็งจุดอ่อนที่แตกต่างกันและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันด้วย อย่างฟิลิปปินส์เรียกว่ากำลังพัฒนาเติบโตเพราะถึงจะมีร่างกฎหมาย PRESENT ที่ส่งเสริมด้านนี้อย่างจริงจัง แต่ภาครัฐก็ยังมีบทบาทค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภาคเอกชน ด้านสิงคโปร์ถือว่าเข้มแข็งทีเดียวเพราะภาครัฐสนับสนุน ถึงแม้ว่าจะไม่มีกฎหมายโดยตรง อีกทั้งเอกชนก็สนับสนุนด้านการเข้าถึงเงินทุนและดึงดูดการลงทุนเป็นอย่างดี ส่วนประเทศที่ SE เฟื่องฟูขึ้นแท่นคงหนีไม่พ้นอังกฤษ ที่มี ecosystem ที่เข้มแข็งและเอื้อต่อวิสาหกิจเพื่อสังคม ด้วยมี Social Enterprise UK (SE UK) เป็นศูนย์กลางของกิจการเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษที่เชื่อมโยงการดำเนินงานควบคู่กับภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน NGO และองค์กรด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาสู่การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการเติบโตของกิจการเพื่อสังคม และยังมีรูปแบบทางกฎหมายเฉพาะสำหรับกิจการเพื่อสังคมอย่างบริษัทเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน Community Interest Company : CIC และ บริษัทกึ่งมูลนิธิ (Charitable Companies) แลนดิ้งกลับมาไทยเราบ้างก็ไม่ใช่ย่อยเพราะเมื่อปีที่แล้วได้มีพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกว่าไข่ที่ SE บ้านเราฟูมฟักกำลังค่อย ๆ เติบโตเป็นตัวเป็นตนแล้วก็ว่าได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่จะช่วยผลักดันให้ไทยเกิด SE เพิ่มขึ้นและประคองตัวอยู่รอดตลอดจนถึงฝั่งฝัน ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูนะคะ เพราะวันนี้ทางเราคัดสรรมาเพียงออร์เดิร์ฟแค่เรียกน้ำย่อยเท่านั้นค่ะ มองทั่วโลกในเวลานี้ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงและไม่มีอะไรที่มั่นคงถาวรตลอดไป ฟากคนทำธุรกิจก็ยิ่งหวาดหวั่นใจเต้นตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ ลุ้นอยู่ทุกวันใช่ไหมคะ ไม่แน่ว่าคำตอบของวิถีธุรกิจในชีวิตคุณอาจจะเป็น Social Enterpriseมากกว่า High Profit ที่เป็นเม็ดเงิน 100% เต็มก็ได้นะคะ เพราะความสุขและรอยยิ้มของคนรอบข้างและสังคมที่คุณอยู่อาจจะส่งผล Impact ต่อชีวิตจิตใจคุณมากกว่าก็ได้ค่ะ ที่มา 1. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) 2. https://www.britishcouncil.or.th/sites/default/files/kicchkaarephuuesangkhmainshraachaanaacchakr_final.pdf 3. https://www.britishcouncil.or.th/programmes/society/social-enterprise/knowledgebase/case-studies
28 ต.ค. 2020
ประเด็นเนื้อหาข่าว ผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์
ท่านเคยประสบปัญหานี้ไหม? มีแนวคิดจะสร้างภาพลักษณ์องค์กร หรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินค้าและบริการ แต่คิดไม่ออกไม่รู้จะสื่อสารเนื้อหาอะไรบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เขียนมีคำตอบค่ะ ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารในประเทศไทยมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Google, Line, YouTube, twitter, Instagram และอื่น ๆ ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการสื่อสารอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายได้โดยง่าย แม้ว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจมีหลายวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการสนทนา เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร โฆษณาประชาสัมพันธ์ การแชร์รูปภาพนิ่ง ภาพมัลติมีเดีย คลิปต่าง ๆ เป็นต้น แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะหมายถึง การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ การขายสินค้าและบริการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ในองค์กร โดยการนำเนื้อหาข้อมูลที่ต้องการประชาสัมพันธ์ หรือ โฆษณาลงในเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของสื่อนั้น ๆ แน่นอนว่าเราจะต้องคำนึงถึงกระบวนการสื่อสารที่ครบองค์ประกอบ คือ ผู้ส่งสาร สาร/เนื้อหาช่องทาง ผู้รับสาร รวมถึงข้อมูลข่าวสารต้องถูกต้อง ครบถ้วน ใหม่ สด ทันเวลา ในที่นี้ผู้เขียนขอเน้นการกำหนดประเด็นเนื้อหาข่าวผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เนื่องจากเป็นสื่อยอดนิยมและมีผลต่อการรับรู้ของผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายที่อาจพอใจหรือขัดแย้งไม่เห็นด้วยก็ได้ การสร้างเนื้อหาข่าวสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ จึงมีความจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงหลักการกำหนดประเด็นเนื้อหาข่าว ดังต่อไปนี้ 1. ความเคลื่อนไหวขององค์กร เป็นการสื่อสารเรื่องราวขององค์กรด้านต่าง ๆ เช่น ทิศทางการบริหารองค์กร การออกแบบนโยบายและกลยุทธ์ วิสัยทัศน์องค์กร 2. การบอกเล่าเรื่องราวขององค์กร เช่น ข่าวการเปิดตัวโครงการ 3. การแสดงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร เช่น การให้ความคิดเห็น 4. การแสดงคุณค่าของสินค้าและบริการ เช่น ความโดดเด่นของสินค้าและบริการ 5. ความผูกพันและความมั่นใจระยะยาว 6. การให้ข้อมูลบทวิเคราะห์ คำปรึกษาและการบริการวิชการ 7. กำหนดการที่สำคัญขององค์กร เช่น การสัมมนาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 8. ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมขององค์กร 9. การยอมรับความเชี่ยวชาญหรือความดี เช่น การได้รับรางวัล 10. กิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กร ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการกำหนดประเด็นเนื้อหาข่าวดังกล่าวจะตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ
22 ต.ค. 2020
ทำไมองค์กรต้องมียุทธศาสตร์
ท่านเคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมองค์กรของเราถึงต้องมียุทธศาสตร์ แม้ว่าประเทศไทยจะกำหนดให้องค์กรต่าง ๆ ใช้คำว่า “แผนปฏิบัติการด้าน.......ระยะที่..(พ.ศ...-...)” แทนใช้คำว่ายุทธศาสตร์ นับตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป ยกเว้นแต่ที่ได้มีการระบุไว้ก่อน หากกล่าวถึงอดีตจนถึงปัจจุบันเป้าหมายที่สำคัญของรัฐบาลไทย คือ การบริการและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนด้วยความถูกต้องเป็นธรรมเพื่อให้ประชาชนพึงพอใจ ดังนั้นการมียุทธศาสตร์องค์กร เปรียบเสมือนการมีเข็มทิศขององค์กรแสดงทิศทางที่ชัดเจนว่าองค์การของเรานั้นอยู่ที่ไหนในขณะนี้ พันธกิจของเราคืออะไร พันธกิจของเราควรจะเป็นอะไร ใครเป็นผู้รับบริการของเรา และผลของการบริการเป็นอย่างไรซึ่งหลักการวิธีคิดคือการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน วิธีตัดสินใจคือการกระจายอำนาจการตัดสินใจของส่วนราชการ วิธีปฏิบัติให้แผนงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ สำหรับผู้บริหารแล้วก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้าและกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามโดยต้องมีรายละเอียดตามขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจและตัวชี้วัดของความสำเร็จของภารกิจ...” อันแสดงถึงการบริหารยุทธศาสตร์ที่โปร่งใสของผู้บริหาร มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือ ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในอดีต และยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบัน บทสรุปการมียุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือขององค์กรทำให้องค์กรมีทิศทาง มีแนวทางปฏิบัติที่ดีตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการโดยให้ประชาชนเป้าหมายมีส่วนร่วมคิดร่วมปฏิบัติ ร่วมแก้ไขปรับปรุงพัฒนา และร่วมติดตามประเมินผลที่ชัดเจน ทำให้เป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ นั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าจะใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์” หรือ คำว่า “แผนปฏิบัติการ” ทั้งสองคำมีเป้าหมายเหมือนกัน คือ การเป็นเครื่องมือนำองค์กรไปสู่อนาคต ........ ยุทธศาสตร์ในองค์กร จึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขันและไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
15 ต.ค. 2020
กสอ. ประเมินความคุ้มค่าภารกิจ พร้อมเตรียมกำลังพลเดินหน้าทำงานปี 64
วันที่ 14 ตุลาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และทีมที่ปรึกษา บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าร่วม ณ ห้อง Royal Maneeya A (M Floor) โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป ให้สอดคล้องกับภารกิจของงาน ตลอดจนสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์และผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้อย่างคุ้มค่าต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
14 ต.ค. 2020
ประชุมคณะจัดทำและทบทวนแผนปฏิบัติราชการ กสอ.
วันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน จัดการประชุมคณะจัดทำและทบทวนแผนปฏิบัติราชการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2563 โดยนายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมฯ โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำและทบทวนแผนปฏิบัติราชการ กสอ. และศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหรรมและวิสาหกิจทุกระดับ ณ ห้องประชุมโซนบี ชั้น 6 อาคาร กสอ.
22 ก.ย. 2020
999 บาท ก็เล่นหุ้นได้
ว่าด้วยเรื่อง หุ้น หุ้น สำหรับคนที่เริ่มสนใจการลงทุนในหุ้นแต่ไม่อยากลงทุนเยอะ ลองเริ่มต้นจากเงินไม่ถึงหนึ่งพันบาท กันปัจจุบันด้วยจำนวนโบรกเกอร์ที่มากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันของโบรกเกอร์สูง ทำให้บางโบรกเกอร์ใช้ Statement เป็นเพียงหลักฐานประกอบเท่านั้น และไม่ได้กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ หรือบางโบรกเกอร์ ใช้แค่หลักฐานหน้าสมุดบัญชีธนาคาร (Bookbank) ก็เพียงพอแล้วที่จะสามารถ ทำให้การเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใช้เงินและสะดวกมากขึ้นกว่าสมัยก่อน โดยการเริ่มต้นมีขั้นตอนและหลักการ ดังนี้ ขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น 1. สมัครเปิดบัญชีออนไลน์ในเว็บของโบรกเกอร์ที่สนใ0 2. ส่งหลักฐานการเงินต่าง ๆ ให้ทางโบรกเกอร์ตรวจสอบ 3. เมื่อตรวจสอบสำเร็จจะได้รหัสผ่านสำหรับเข้าไปซื้อขายหุ้นในเว็บหรือแอปพลิเคชันของทางโบรกเกอร์ เมื่อได้บัญชีซื้อขายหุ้นแล้ว หลังจากที่ทางโบรกเกอร์ตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ สำเร็จแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสำคัญนั่นคือ “การซื้อหุ้นตัวแรก” นั่นเอง มีคำแนะนำสำหรับหุ้นตัวแรกที่ควรจะซื้อเข้าพอร์ต ดังนี้ 1. ควรซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท เนื่องจากการซื้อขายหุ้น ทางตลาดหลักทรัพย์จะบังคับให้ซื้อทีละ 100 หุ้น ดังนั้นถ้าเราซื้อหุ้น ABC (ชื่อสมมติ) ราคา 5 บาท เราต้องซื้อจำนวน 100 หุ้น เราก็จะเสียเงินทั้งหมด 500 บาท ซึ่งการซื้อหุ้นครั้งแรกมักจะขาดทุนอยู่แล้วเพราะเราไม่มีความรู้ แต่เราจะเข้าใจการทำงานของตลาดหุ้นมากขึ้น 2. การหาหุ้นตัวแรก ในการหาหุ้นตัวแรกที่จะซื้อนั้น อยากให้ลองหาจากรายชื่อใน SET50 (หุ้น 50 ตัวแรกที่มีมูลค่าเยอะที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย) เพื่อนั่งดูว่าธุรกิจหรือกิจการของหุ้นตัวนั้นทำอะไร เราเคยใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเขาแล้วเราอยากจะเป็นเจ้าของหรือไม่ กิจการมีแนวโน้มจะเติบโตในอนาคตได้หรือไม่ รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ 3. ควรซื้อหุ้นที่เรารู้จัก นอกจากเรื่องราคาแล้วเราก็ควรซื้อหุ้นที่เรารู้จัก แม้จะดูงบการเงินของหุ้นตัวนั้นไม่เป็นเลยก็ตาม หุ้น คือ กิจการธุรกิจอย่างหนึ่งไม่ใช่ตัวเลขวิ่งไปวิ่งมาเฉย ๆ ให้เราคิดว่าเรากำลังจะซื้อกิจการนั้น ๆ เราอยากซื้อกิจการที่ได้กำไรทุกปีหรืออยากได้กิจการที่ขาดทุนทุกปี (ในตลาดหุ้นมีแบบนี้เยอะ) วิธีที่ง่ายที่สุดคือไปหาว่าเราสนใจธุรกิจใด แล้วธุรกิจนั้นมีในตลาดหุ้นหรือไม่ นอกจากนั้นก็ดูว่าลูกค้าเยอะหรือไม่ ไปลองใช้บริการดูว่าพนักงานบริการดีไหม คิดเหมือนว่าเราจะซื้อกิจการนั้นเลย 4. หุ้นในพอร์ต สำหรับมือใหม่แนะนำว่าควรถือหุ้นแค่ประมาณ 3 – 5 ตัวในพอร์ต เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามข่าวสาร ถ้ามีเยอะเกินไปจะดูแลไม่ทั่วถึง และถ้ามีหุ้นน้อยเกินไปก็จะเหมือนใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงสูงเกินไปจึงควรกระจายการลงทุนออกมา เราก็จะได้เห็นว่าราคามันขึ้น ๆ ลง ๆ ทุกวัน ซึ่งเราอาจจะตื่นเต้นทุกครั้งที่หุ้นในพอร์ตกำไร หรือปวดใจทุกรอบที่เห็นราคาที่เคยซื้อต่ำลง แต่นี่แหละคือธรรมชาติของหุ้น ในระยะสั้นราคาอาจจะมีขึ้นมีลง ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ในระยะยาวถ้าคุณซื้อบริษัทที่ดี ราคาของหุ้นจะเพิ่มขึ้นเองตามผลประกอบการ การที่หุ้นตัวแรกของเราจะกำไรหรือขาดทุนไม่ได้บ่งบอกว่าเราเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แต่หุ้นตัวแรกนี้คือ “ค่าเล่าเรียน” เพื่อดูว่าเราจะอยู่กับตลาดหุ้นได้หรือไม่ แต่หุ้นตัวต่อไปต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการเลือกมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ไม่ควรมาเลือกมั่ว ๆ แบบหุ้นตัวแรก ๆ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อในวันนี้ก็เพียงต้องการจะบอกว่าแค่มีแบงค์พันใบเดียวก็เล่นหุ้นได้แล้ว ซึ่งผมไม่ได้พูดขึ้นลอยแต่เกิดจากการศึกษาและหาความรู้ ใช่แล้วครับ! หนึ่งในแหล่งความรู้ของผมก็คือ SET นั่นเอง ถ้าคุณอยากศึกษาหาอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นก็กดลิ้งก์ด้านล่างเลยครับ ขอให้โชคดีในการเล่นหุ้นนะครับ ที่มา https://stockradars.news , https://www.set.or.th
17 ก.ย. 2020
กสอ. จัดระดมความคิดเห็นภายในองค์กร พร้อมปูแนวทางปรับบทบาทหน่วยงานในอนาคต
วันพุธที่ 16 กันยายน 2563 นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็นภายในหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์จัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับทิศทางในอนาคต ร่วมด้วย ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซนเอ อาคาร กสอ. การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นของบุคคลากรภายใน กสอ. เพื่อนำไปวิเคราะห์และจัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางในการปรับบทบาทภารกิจของ กสอ. ให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานในอนาคต รวมทั้งยกระดับการบริหารราชการภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มีบริการที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการพัฒนาส่วนราชการรูปแบบเฉพาะของสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทั้งนี้ เพื่อเป็นหน่วยงานต้นแบบสำหรับส่วนราชการอื่น ๆ ต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
16 ก.ย. 2020
กสอ. ระดมบุคลากรภาครัฐ เตรียมพร้อมแผนการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2564 เสริมแกร่งผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น
วันอังคารที่ 15 กันยายน 2563 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำข้อเสนอโครงการและบูรณาการผลผลิต และงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้หน่วยงานทบทวนการจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และบูรณาการผลผลิต งบประมาณ รวมถึงรูปแบบการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน และตอบสนองต่อความต้องการของก่ลุ่มเป้าหมาย ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ห้องประชุม Ballroom โรงแรมอีสติน มักกะสัน ขอบคุณข้อมูลจาก : PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
15 ก.ย. 2020